แจกลิสต์สำรับ “สงกรานต์” ตามรอยลิ้มรสอาหารเทศกาลปีใหม่ไทย

วันหยุดสงกรานต์ครั้งนี้ เดินทางไปเที่ยวทั้งที คงดีไม่ใช่น้อยถ้าเราได้ไปลิ้มรสของโบราณแสนอร่อยด้วย เพราะนอกจากความอร่อยช่วยคลายความร้อนได้แล้วยังช่วยสืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทยได้อีก

แต่อาหารไทยโบราณคู่เทศกาลสงกรานต์จะมีอะไรบ้าง และปัจจุบันจะสามารถไปลิ้มลองได้ที่ไหนบ้าง วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีได้รวบข้อมูลมาฝากทุกคนกัน!

ขนมจ๊อก

“ขนมจ๊อก” หรือ “ขนมเทียน” บางแห่งเรียกว่า “ขนมนมสาว” เป็นขนมพื้นบ้านของคนเมืองเหนือ

ที่นิยมทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญสำคัญต่างๆ เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา งานบวช เป็นต้น

โดยคำว่า “จ๊อก” เป็นคำเมือง หมายถึงการทำสิ่งของให้เป็นกระจุกมียอดแหลม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันว่า “ขนมจ๊อก”

ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว ข้าวจ้าว น้ำตาลปี๊บ เกลือ และน้ำมันพืช นำมาผสมๆ กันแล้วนวดให้เป็นก้อน แล้วเพิ่มรสหวานด้วยการทำไส้มะพร้าว แต่ในปัจจุบันผู้คนดัดแปลงทำไส้ขึ้นมาหลากหลายอย่างตามใจชอบ จึงมีให้เห็นทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วแดง ไส้เค็ม เหมือนไส้ซาลาเปาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ข้าวปุ้น

“ข้าวปุ้น” หรือ “ขนมจีน”ป็นอาหารพื้นเมืองที่อยู่คู่อีสานมาอย่างยาวนาน แม้ข้าวปุ้นจะหมายถึงขนมจีน และมีรูปลักษณ์ของอาหารดูคล้ายๆ กับขนมจีนซาวน้ำของภาคกลาง แต่ที่จริงแล้วแตกต่างกันอย่างชัดเจน

โดยข้าวปุ้นของชาวอีสาน คือเส้นข้าวปุ้นที่ราดด้วยน้ำปลาร้าปรุง แล้วใส่ผักแนม อย่างผักที่มีกลิ่นฉุน เสร็จแล้วปรุงรสตามด้วยน้ำปลา น้ำตาล และพริกป่นตามชอบ จะเหมือนกับขนมจีนซาวน้ำของภาคกลางตรงที่ต้องคลุกเคล้าให้เข้ากันดีเสียก่อน

นอกจากนี้ข้าวปุ้นของชาวอีสาน ก็ยังมีข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ข้าวปุ้นน้ำนัว และข้าวปุ้นน้ำยาปลาร้า ที่มีน้ำซุปอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เอาไว้ราดกับเส้นข้าวปุ้น กินแล้วอร่อยไม่เหมือนที่ไหนๆ ด้วย

ข้าวแช่

เชื่อกันว่า “ข้าวแช่” เป็นอาหารไทยที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พวกเขามักทำขึ้นโดยเรียกว่า “เปิงซัง กรานต์” หรือ “ข้าวสงกรานต์” เพื่อนำไปไหว้บรรพบุรุษ สังเวยเทวดา และถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะเชื่อว่าหากไหว้ด้วยข้าวแช่และเครื่องเคียงที่ทำขึ้นมาจะสมปรารถนาตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้

จากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า “ข้าวแช่” กลายมาเป็นเมนูที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ จากพระสนมเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทำถวายพระองค์ จนกลายเป็นที่โปรดปรานของพระองค์มาก และด้วยความที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดแปรพระราชฐานพำนักแรมที่พระนครคีรี หรือเขาวังอยู่เสมอ จึงสันนิษฐานว่ามีส่วนที่ทำให้ “ข้าวแช่เมืองเพชร” มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

และส่งผลให้เมนูนี้แพร่หลายไปหลายจังหวัดภาคกลาง กลายเป็นเมนูโบราณคลายร้อนยอดฮิตขึ้นชื่อของประเทศ จนร้านอาหารไทยหลายร้านทุกวันนี้ ต้องมีเมนูนี้เมื่อเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์

กะละแม

“กะละแม” เป็นขนมไทย ที่คนไทยในสมัยก่อนนิยมทำขึ้นในวันสงกรานต์ หรือในงานพิธีกรรมสำคัญต่างๆ เช่น งานอุปสมบท งานแต่งงาน เป็นต้น เพราะเชื่อว่าเนื้อขนมของกะละแมที่มีความเหนียวและต้องใช้เวลาในการกวนนี้ จะเสมือนกับความรัก ความอดทน และความสมัครสมานสามัคคีที่จะช่วยทำให้พรที่อยากขอในเรื่องความรักความเหนียวแน่น สัมฤทธิ์ผล

แม้จะไม่มีข้อมูลปรากฏแน่ชัดว่าขนมนี้มาจากที่ใด บ้างก็สันนิษฐานว่า มาจาก “ขนมกาลาเม็ก” ของฝรั่งเศส หรือ “คาราเมล” ของอังกฤษ ส่วนบางคนก็ตั้งข้อสังเกตว่าหรือจะมาจาก “ละไม” ของชาวมลายู รวมถึงท่านพุทธาสภิกขุ ตั้งข้อเสนอด้วยว่าน่าจะมาจาก “ขนมฮูละวะ” ของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็น นม แป้ง และน้ำตาล ขณะที่ราชบัณฑิตยสถานกล่าวว่า ขนมชนิดนี้ได้มาจากมอญและพม่า

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กะละแมนี้ ทำขึ้นมาจากข้าวเหนียว เคี่ยวร้อนๆ กับน้ำผึ้งหรือน้ำกะทิจนเกือบแห้ง จากนั้นใส่น้ำตาลปี๊ปกวนด้วยไฟอุ่นๆ ต่อไปประมาณ 9 ชั่วโมง ยิ่งทำให้ตัวขนมนั้นเหนียวนุ่ม มีรสชาติกลมกล่อม และกลายเป็นของขึ้นชื่อของคนสมุทรสงครามในภาคกลาง

ขอบคุณข้อมูลจาก : KRUA , RMUTT และ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

By admin

Related Post