ความไม่สงบทางการเมืองในบังกลาเทศ กำลังทำลายเศรษฐกิจที่สั่นคลอนของประเทศ ขณะที่พรรค BNP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน พยายามกดดันให้นายกรัฐมนตรีหญิง ชีค ฮาสินา ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคม
ทั้งนี้พรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) เป็นพรรครัฐบาลของชีค ฮาสินา ที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2009 แต่การเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งล่าสุดในปี 2014 และ2018 พรรคสันนิบาตอวามี เผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และถูกคว่ำบาตรจากพรรคฝ่ายค้าน เนื่องจากถูกข้อครหาว่า โกงคะแนนเสียงเลือกตั้งมหาศาล
แทบละลาย! "บังกลาเทศ" เผชิญอากาศร้อนสุดในรอบ 60 ปี
ไฟไหม้ใหญ่ตลาดเสื้อผ้าในบังกลาเทศ ใช้เวลาดับ 6 ชมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง.
ไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ ไร้ที่อยู่อาศัยนับหมื่น
ชีค ฮาสินา วัย 76 ปี ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลหญิงที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก ยังถูกกล่าวหาว่า ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยอย่างโหดร้ายในช่วงระยะเวลาเกือบ 15 ปีที่ผ่านมา
จากการเลือกตั้งที่ถูกมองว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ทำให้พรรค BNP และพันธมิตรเรียกร้องให้ฟื้นฟูระบบรัฐบาลรักษาการที่เป็นกลาง เพื่อดูแลการเลือกตั้งระดับชาติ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าการเลือกตั้งเสรีและยุติธรรม จะไม่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีหญิงรายนี้
ที่ผ่านมา รัฐบาลรักษาการประสบความสำเร็จในการจัดการเลือกตั้งอย่างน้อย 4 ครั้ง โดยในการเลือกตั้ง 4 ครั้งนั้น มี พรรคสันนิบาตอวามี พรรครัฐบาลในปัจจุบัน และพรรค BNP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านผลัดกันขึ้นสู่อำนาจคราวละ 2 ครั้ง
แต่ในปี 2011 รัฐบาลรักษาการที่ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลบริหารการเลือกตั้งที่เป็นกลางถูกยุบ หลังปฏิบัติภารกิจ นับตั้งแต่บังกลาเทศเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง จากเผด็จการทหารสู่ระบอบประชาธิปไตยในช่วงต้นทศวรรษที่ 90
ผลงานของการมีรัฐบาลรักษาการที่ผ่านมา ได้สร้างความเชื่อมั่นในระบบนี้ และทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้าน BNP ได้พยายามผลักดันให้กลับมาใช้ระบบนี้อีกครั้ง แต่ก็เกิดการฟ้องร้องกันวุ่นวายจนเป็นคดีความหลายพันคดี
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พรรค BNP และพันธมิตร ได้ให้คำมั่นสัญญาอีกครั้งว่า จะยกระดับการก่อความโกลาหลก่อนการเลือกตั้งระดับชาติที่จะมีขึ้นในปีหน้า และนับตั้งแต่ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านก็ได้ประกาศชัตดาวน์ทั่วประเทศมาแล้วหลายครั้ง
ความวุ่นวาย และทางตันการเมือง ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว ชาวบังกลาเทศต้องก้มหน้ารับชะตากรรมอันข่มขื่น อย่าง ราหุล อามิน (Rahul Amin) ผู้บริหารบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว ต้องจ่ายเงินค่าโดยสารไปทำงานมากกว่าปกติถึง 10 เท่า เนื่องจากรถโดยสารต่าง ๆ ทั้งรถแท็กซี่ รถสามล้อ และรถประจำทางวิ่งน้อยมาก ทำให้รถโดยสารเหล่านี้ต้องขึ้นราคา
นอกจากนี้ ชาวบังกลาเทศยังต้องดิ้นรนกับราคาค่าอาหาร และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (2022) และความโกลาหลทางการเมืองล่าสุดกำลังสร้างความหายนะให้กับผู้คนในประเทศ
ราหุลย้ำว่า ตัวเขาเข้าใจถึงข้อเรียกร้องของพรรคฝ่ายค้าน ที่ต้องการอยากมีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม แต่เศรษฐกิจของประเทศจะล่มสลาย หากการชัตดาวน์ยังคงดำเนินต่อไป
ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบของเศรษฐกิจในบังกลาเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้บอบช้ำมาตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามในยูเครน
บังกลาเทศ เผชิญกับเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดครั้งใหม่ และได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันรายได้จากการส่งออกก็ตกต่ำที่สุดในรอบ 26 เดือน ทำให้รัฐบาลของชีค ฮาสินา ต้องเร่งขอเงินกู้ 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.6 แสนล้านบาท) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ขณะที่ อับดูร์ รูฟ ตาลุกดาร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางบังกลาเทศออกมายอมรับเมื่อไม่นานมานี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในจุดที่ตกต่ำที่สุด และกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก
ด้านสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบังกลาเทศ หรือ FBCCI ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการค้าระดับสูงสุดของประเทศ ระบุว่า การชัดตาวน์จากการประท้วงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ได้สร้างความสูญเสียให้กับเศรษฐกิจของบังกลาเทศไปแล้ว 65,000 ล้านตากาบังกลาเทศ (ราว 2 หมื่นล้านบาท) ส่วนธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบจากการชัตดาวน์ในครั้งนี้อย่างชัดเจน
ฝั่ง ซาฮิด ฮุสเซน (Zahid Hussain) อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกสาขากรุงธากา ระบุว่า ทางตันการเมืองของบังกลาเทศ ณ ปัจจุบัน ดูคล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2014 ซึ่งครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แต่ผลกระทบจากการเมืองในครั้งนี้ อาจทำให้ชาวบังกลาเทศเจ็บปวดกว่านั้นมาก เพราะไม่ใช่แค่ว่าบังกลาเทศมีระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังเป็นเพราะเครื่องมือการดูแลด้านความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน อย่างเครื่องมือด้านเงินกองทุน และการสร้างกันชนทางเศรษฐกิจมีความเปราะบาง