ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) รายงานว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ขานรับนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยังคงส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการแถลงต่อสภาคองเกรสวันที่ 2 โดยกล่าวว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ หากเศรษฐกิจปรับตัวตามที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอยู่ในกรอบ 5.50-5.75%คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
ค่าเงินบาทอ่อนค่าปลายสัปดาห์หลังประธานเฟดแถลง
นอกจากนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อวานนี้ โดยธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00% และธนาคารกลางนอร์เวย์ก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% สู่ระดับ 3.75% เช่นเดียวกัน
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,780 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 928 ล้านบาท
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 35.40 บาท/ดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าในช่วงคืนก่อนหน้า เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวต้าน 35.15 บาทต่อดอลลาร์ ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะปรับตัวลดลง (ราคาทองคำลดลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน)
ในฝั่งตลาดบอนด์ แนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของบรรดาธนาคารกลางหลัก ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี ทั้งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป ต่างปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี บรรยากาศในตลาดการเงินที่ผู้เล่นยังคงระมัดระวังตัวและบางส่วนก็ยังคงกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว ก็มีส่วนช่วยหนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทะลุโซนแนวต้าน 3.80% ที่เราเคยประเมินไว้
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 102.4 จุด อีกครั้ง โดยเงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากทั้งความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่มียีลด์สูงในช่วงตลาดผันผวนและแรงหนุนจากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงมองว่าเฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้บ้าง
ส่วนในฝั่งราคาทองคำ แม้ว่าบรรยากาศในตลาดการเงินจะอยู่ในภาวะระมัดระวังตัว แต่การปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลุดโซนแนวรับแรกแถว 1,940-1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และลงมาแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,925 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ส่วนในฝั่งไทย ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานยอดการส่งออกและนำเข้า โดยตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคมอาจหดตัวต่อเนื่อง -6%y/y ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ (สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวลดลง) ส่วนยอดการนำเข้าจะหดตัวกว่า -9%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าจะขาดดุล -390 ล้านดอลลาร์
ต่างชาติขายหุ้น-พันธบัตรไทย 3.7 พันล้าน ฉุดบาทอ่อนทะลุ 35 บาท
นักลงทุนคาดเฟดจะลดดอกเบี้ยในเร็วนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจถดถอย
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า โมเมนตัมเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่แผ่วลงชัดเจนในช่วงก่อนหน้า โดยมีจุดเปลี่ยน คือ การพลิกกลับมาอ่อนค่าลงทะลุโซนแนวต้าน 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ และทะลุโซนแนวต้านถัดไปที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยหนุนการอ่อนค่าของเงินบาท ยังคงมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่มักมาพร้อมกับการย่อตัวลงของราคาทองคำ ทำให้เงินบาทก็ถูกกดดันจากโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว นอกจากนี้ แรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงเช่นกัน
ประเมินว่า ในโซน 35.15-35.20 บาทต่อดอลลาร์ อาจยังพอเห็นผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่ อาทิ ผู้ส่งออกบางส่วนต่างก็รอจังหวะเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซน 35 บาทต่อดอลลาร์ แต่เรามองว่า เงินบาทก็อาจเปลี่ยนโซนในการแกว่งตัว โดยเงินบาทมีโอกาสแกว่งตัวเหนือระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ได้ในช่วงนี้ หากไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุนการแข็งค่าของเงินบาท อีกทั้งในช่วงปลายเดือนก็จะเริ่มมีโฟลว์ซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้ามากขึ้น
ทั้งนี้ มองว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี PMI ของทั้งฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ โดยเฉพาะดัชนี PMI ของสหรัฐฯ (เวลา 20.45 น.) เนื่องจากหากข้อมูลออกมาแย่กว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจชะลอตัวลงชัดเจน ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้บ้าง ในทางกลับกัน หากข้อมูลออกมาดีกว่าคาดชัดเจน ก็อาจยิ่งหนุนให้ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งได้ ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจยิ่งหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์